นศ.ราชมงคลพระนครเผยอุปกรณ์ ช่วยผู้บกพร่องทางร่างกายในสังคม

3

ปัจจุบันสังคมไทยมีผู้บกพร่องทางร่างกายจำนวนไม่น้อย ซึ่งหลายๆ หน่วยงานได้คิดค้นผลิตอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ทั้งหมด นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ราชมงคลพระนคร) จึงคิดอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือผู้บกพร่องทางร่างกายในสังคม อาทิ จานสำหรับผู้บกพร่องทางสายตา เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ ฯลฯ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ “เดอะฮีโร่” พลเมืองกล้า ท้าเปลี่ยนโลก หนึ่งในโครงการภายใต้ Active Citizen โดยความร่วมมือระหว่างบริษัทเดย์ โพเอทส์ จำกัด ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธินวัตกรรมเพื่อสังคม สนับสนุนส่งเสริมเพื่อร่วมสร้างพลังพลเมืองรุ่นใหม่ ร่วมสร้างสรรค์สังคมและโลกใบนี้ให้ดียิ่งขึ้น

2

บลอนด์ หรือ “สหรัฐ พึ่งศิลป์”  นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ชั้นปีที่3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร หนึ่งในสมาชิกโครงการ braille start @ bus stop เล่าว่า สมาชิกในทีมมีความเห็นตรงกันว่าปัจจุบันมีอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางสายตาจำนวนมาก แต่ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทาง จึงทำให้เกิดโครงการ braille start @ bus stop หรือการสร้างป้ายรถโดยสารประจำทางสำหรับผู้บกพร่องทางสายตาขึ้น เพื่อให้นเป็นป้ายบอกเส้นทางการเดินรถของรถโดยสารประจำทางและอำนวยความสะดวกแก่ผู้บกพร่องทางสายตามากยิ่งขึ้น โดยป้ายต้นแบบที่ทำตั้งอยู่ที่เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งบริเวณนี้ใกล้เคียงมีโรงเรียนสอนคนตาบอดอยู่ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่มีจำนวนรถเมล์วิ่งหลายสายและมีผู้ใช้จุดนี้เปลี่ยนสายรถเมล์จำนวนมาก

ทั้งนี้หลายคนมีคำถามกลับมาว่าทำไมจึงไม่นำป้ายตั้งไว้บริเวณหน้าศูนย์คนพิการทางสายตาหรือโรงเรียนคนตาบอด ทางทีมมองว่าถ้าไปตั้งในที่ที่คุ้นเคยยังไงพวกเขาก็จะจำได้อยู่แล้วว่ามีรถเมล์สายใดไปไหนบ้าง แต่เมื่อกลับความคิดกันเปลี่ยนมาตั้งบริเวณที่ไม่คุ้นเคยน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า ในอนาคตหวังว่าป้ายที่ทำขึ้นมาจะเป็นต้นแบบและนำไปต่อยอด โดยอุปกรณ์ดังกล่าวได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

4

ด้าน เก่ง หรือ“นพพร ทัตสิริวรวัฒน์” สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์จำนวนมากและมีอัตราสูงขึ้นทุกๆ ปี และด้วยวิธีการรักษาโรคนี้ต้องกินยาประกอบกับการทำกายภาพบำบัดกระตุ้นกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ ซึ่งโรงพยาบาลหลายแห่งมีอุปกรณ์ในการบำบัดไม่เพียงพอต่อความต้องการ ภายในทีมจึงมีแนวความคิดผลิตอุปกรณ์ช่วยกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพฤกษ์ โดยผู้ป่วยจะสามารถทำกายภาพบำบัดได้ที่บ้านพักอาศัยโดยที่ไม่ต้องไปโรงพยาบาลก็จะเป็นการแบ่งเบาภาระจากโรงพยาบาลและยังสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยได้อีกด้วย นอกจากนี้การผลิตอุปกรณ์ได้นำวิชาความรู้ทุกๆ ส่วนของการเรียนในห้องเรียนมาใช้ทั้งกระบวนการออกแบบ กระบวนการคิด วิเคราะห์ การกลั่นกรองข้อมูล ซึ่งการออกแบบผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงความสะดวกสบาย เข้ากับสรีระร่างกายของผู้บริโภคได้อย่างดีและประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค และอุปกรณ์เสร็จสมบูรณ์จะมอบให้แก่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สาขามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ เพื่อนำไป ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ป่วยต่อไป

ขณะที่ “กิ่งกาญจน์ พิจักขณา” อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเป็นที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า ดีใจที่เห็นนักศึกษาผลิตผลงานออกมาเพื่อช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริงและช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการนำความรู้ในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง ในอนาคตอยากให้นักศึกษาทุกๆรุ่นเล็งเห็นปัญหา ความต้องของสังคม มาต่อยอดเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยเหลือต่อไป

 “การทำโครงการดีดีซักอย่างเปรียบเสมือนบ้าน สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือแกนนำที่เป็นเสาเข็มเวลาตอกต้องใช้แรงมากสุด ลึกสุด เพราะสำคัญที่สุด ส่วนเงินทุนก็เปรียบเสมือนผนังบ้าน หลังคา ต่อให้ผนังและหลังคาจะมีมูลค่าสูงแค่ไหน ก็จะถูกทำลายในเวลาอันรวดเร็วเพราะเสาเข็มไม่แข็งแรง ดังนั้นการเป็นผู้นำบางครั้ง เราอาจจะต้องเสียน้ำตามากกว่าหัวเราะ เป็นเรื่องธรรมดาของผู้นำและผู้ริเริ่ม ถ้าเราผ่านไปได้ บ้านก็แข็งแรง” ดร.กิ่งกาญจน์ กล่าว 
 
64564
111800042_918113924913232_6090410704548213198_n12072640_952812941443330_7634435667453959671_n12079675_952737598117531_764480968637482507_n 11146470_953282328063058_2547784225379695409_n12074616_953282051396419_6419187872789254407_n 12112479_953282131396411_2501235719816278884_n12088280_953282564729701_3932738363725751028_n

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพ : www.facebook.com/ThailandActiveCitizen