รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ขยายในวงกว้าง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ งดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ได้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการเรียนการสอนของนักศึกษา โดยคลาสเรียนออนไลน์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทันคือ คือ Google Classroom นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มการสอนโดยการสอนผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Microsoft Team และ E-learning RMUTP ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการสื่อสารทางออนไลน์ที่นักศึกษาทุกคนใช้กันได้ และวิธีการใช้งานไม่ยุ่งยาก
นางสาวภัทริฐา กาญจนศยาธร นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการบัญชี คณะบริการธุรกิจ เล่าว่า เห็นว่าการเรียนผ่านออนไลน์ดี เพราะสะดวกต่ออาจารย์และนักศึกษา
ปัจจุบันนักศึกษาต่างมีเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ส่วนตนเคยเรียนผ่านจอทีวีออนไลน์ พร้อมกัน 4 โรงเรียนช่วงมัธยม ดังนั้นเมื่อมหาวิทยาลัยฯ มีการปรับการเรียนผ่านระบบออนไลน์จึงไม่รู้สึกกังวล ทั้งนี้ตนเคยใช้ระบบ Google classroom ทำแบบทดสอบและส่งงานอาจารย์ในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่องานธุรกิจ โดยอาจารย์จะทำแบบทดสอบแยกเป็นเรื่อง ๆ เหมือนเป็นแฟ้มงานในคลาสรูม ซึ่งนักศึกษาก็จะต้องทำงานตามที่มอบหมาย แล้วส่งกลับในช่องทางเดิม
ขณะที่ นายวรากร เบ้ากุล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่าว่า ตนใช้ระบบ Google Classroom ส่งงานอาจารย์ และเรียนวิชาหลักสถิติ และ Artificial intelligence โดย อาจารย์สอนบนสไลด์ปกติ แต่จะมีการเพิ่มสไลด์แบบฝึกหัดลงไว้ในคลาสรูม ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำแบบฝึกหัด
และส่งกลับลงบนระบบไว้เช่นเดิม ซึ่งตนรู้สึกสะดวก ใช้งานง่าย และสามารถเข้ามาทบทวนสิ่งต่าง ๆ บนคลาสรูมได้ตลอดเวลา รู้สึกสนุกและทำให้สนใจเรียนมากขึ้น
ส่วน นายชาตินันท์ สุขทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ เล่าว่า ใช้ระบบ Google classroom ตั้งแต่เรียนชั้นปีที่ 2 จนถึงปัจจุบันในรายวิชาเคมีอาหาร โดยอาจารย์จะนำสไลด์วิชาที่สอนลงในคลาสรูม เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรวมกัน 3-4 ห้อง โดยให้นักศึกษาทำความเข้าใจในวิชาก่อนเข้าคลาสเรียนจริง โดยส่วนตัวรู้สึกเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวในการเรียนได้ระดับดีทีเดียว นอกจากนี้อาจารย์ยังได้ลงแบบทดสอบเก็บคะแนน โดยทุกคนไปทำแบบทดสอบในระบบตามเวลาที่กำหนด หากไม่เสร็จระบบจะปิดอัตโนมัติ ซึ่งรู้สึกท้าทายความรู้ความสามารถอย่างมาก หากจะมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนทุกวิชาคิดว่าน่าจะดีเช่นกัน
ด้าน อาจารย์ปัทมา พยุงวงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และอาจารย์ประจำสาขาวิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ เล่าว่า ปกติในช่วงภาคฤดูร้อนการเรียนการสอนวิชาบัญชีบริหารและบัญชีต้นทุนจะสอนผ่านระบบออนไลน์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย 100% โดยใช้โปรแกรม Google Classroom ซึ่งก่อนถึงวันที่มีสอนจะนำ Power Point พร้อมลงเสียงวางไว้ในระบบคลาสรูม เพื่อให้นักศึกษาเข้าไปทบทวนและใช้ประกอบการเรียนรู้ในหนังสือเรียน หากนักศึกษาไม่เข้าใจก็จะสอบถามผ่านไลน์กลุ่มห้องเรียน หรือหากในบทเรียนนั้น ๆ มีนักศึกษาไม่เข้าใจจำนวนมากจะเปิด google Meet เพื่อสอนอธิบายเพิ่มเติม ด้านการวัดผล ใช้โปรแกรม Quizizz ในการสร้างข้อสอบออนไลน์ ซึ่งจากการวัดผลที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ “โดยส่วนตัวคิดว่าข้อดีในระบบการสอนออนไลน์ คือช่วงซัมเมอร์นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาคสมทบ
นักศึกษาบางคนทำงาน อาจไม่สะดวกในการเดินทางมาหาวิทยาลัยอีก