News

มทร.พระนคร ร่วมมือมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ชุมชนบ้านฮวก-บ้านคอดยาว จ.พะเยา

ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) พระนคร มอบหมายให้ ดร.คมพันธ์ ชมสมุทร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ในฐานะคณะกรรมการดำเนินงานและวิทยากร ประกอบด้วย ดร.ชลากร อุดมรักษาสกุล ดร.สรสุธี บัวพูล ดร.ก้องเกียรติ มหาอินทร์ อาจารย์สัมภาษณ์ สุวรรณคีรี และ ผศ.ศรัทธา แข่งเพ็ญแข ผู้ประสานงานโครงการฯ ร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ รวมถึง อาจารย์นฤพน ไพศาลตันติวงศ์ วิทยากรจากคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น และทีมวิทยากรจาก สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.พระนคร ลงพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ณ ชุมชนบ้านฮวก และบ้านคอดยาว จังหวัดพะเยา ระหว่างวันที่ 4-7 กรกฎาคม 2565

การดำเนินงานในครั้งนี้ สืบเนื่องจากมติที่ประชุมคณะกรรมการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) ได้พิจารณา สนับสนุนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านบูรณาการขับเคลื่อน การพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ซึ่งมทร.พระนคร ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุน ดำเนินงานโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ให้กับชุมชนบ้านฮวก และบ้านคอดยาว จังหวัดพะเยา โดยมีกำหนดดำเนินงานโครงการออกเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 เป็นการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อเตรียมดำเนินงาน
ช่วงที่ 2 เป็นการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และช่วงที่ 3 เป็นการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ของทั้งสองหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

หัวข้อการอบรมและฝึกปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การย้อมครามและการทำนุ่ม การออกแบบลายทอ การออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มีความน่าสนใจ การวิเคราะห์ต้นทุนการทำตลาดออนไลน์ ซึ่งผลการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการฯ ในครั้งนี้ ได้รับคำชื่นชม จากผู้เข้าร่วมอบรม และผู้บริหารของทางมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ โดยให้ความเห็นว่ามีผลงานเป็นรูปธรรม มีความน่าสนใจ ครบกระบวนการและสามารถต่อยอดได้ และชาวบ้านทั้ง 2 ชุมชน มีความต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยฯ และมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้กลับมาจัดโครงการฯ เช่นนี้อีก ในศาสตร์ของกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

Share this...
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter