News

มทร.พระนคร ฝ่าวิกฤตโควิด-19 สร้างโอกาส พัฒนาทักษะ เปิดอบรมและทดสอบภาษาจีนออนไลน์ ฟรี!!

ผศ.ดร.อำนาจ เอี่ยมสำอางค์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เปิดเผยว่า ปัจจุบันมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศจีนกำลังก้าวขึ้นมามีอิทธิพลระดับต้น ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการศึกษา ส่งผลให้ธุรกิจการค้าของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ดังนั้นภาษาจีนเริ่มกลายเป็นภาษาที่มีความสำคัญตามไปด้วยเช่นเดียวกัน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าหากเราสามารถสื่อสารภาษาจีนได้ก็หมายถึงโอกาสในการประกอบอาชีพ การทำงานในต่างประเทศ หรือการขยายโอกาสทางธุรกิจ รวมไปถึงสามารถเลือกเปลี่ยนอาชีพตามต้องการได้ เช่น เป็นไกด์ทัวร์ เป็นอาจารย์สอนภาษาจีน ทำงานด้านการบิน การนำเข้าส่งออกสินค้าจากประเทศจีน เป็นต้น

คณะศิลปศาสตร์ มทร.พระนคร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้ทรัพยากรบุคคลของไทยได้เรียนรู้ภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศอีกภา
ษาหนึ่ง จึงได้จัดโครงการอบรมและวัดความรู้ภาษาจีน อบรมและทดสอบความรู้ภาษาจีน (ออนไลน์) ผ่านโปรแกรม Meet Ding Talk และ Google Form เพื่อนำไปต่อยอดการเรียนรู้ภาษาจีนในอนาคต หรือนำไปเป็นหน่วยกิตสะสม (Credit Bank) สำหรับเทียบโอนผลการศึกษา

ผศ.ดร.อำนาจ เอี่ยมสำอางค์ กล่าวอีกว่า หลักสูตรที่เปิดอบรมแบ่งเป็น 3 หลักสูตร อบรมและทดสอบ ฟรี 2 หลักสูตร ได้แก่ ภาษาจีนระดับต้น (15 ชั่วโมง) ภาษาจีนระดับกลาง (15 ชั่วโมง)และพิเศษสำหรับผู้สนใจอบรมภาษาจีนสำหรับนำไปใช้ประกอบธุรกิจ มีหลักสูตรภาษาจีนระดับธุรกิจ (15 ชั่วโมง) เฉพาะหลักสูตรนี้มีค่าลงทะเบียน 599 บาท อบรมโดยวิทยากรที่เป็นเจ้าของภาษาและอาจารย์ชาวไทยผู้สอนภาษาจีน ได้แก่ อาจารย์ Deng Weiyun และอาจารย์ Cui Jianmimg อาจารย์ปริวรรต นาครักษา อาจารย์ ชวิศา กันกา อาจารย์รติรัตน์ กุญแจทอง ซึ่งผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบจะได้รับใบประกาศนียบัตรทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
จึงขอเชิญชวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า และผู้สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมการอบรมและทดสอบได้ตลอดระยะเวลาโครงการ ระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม - 11 มิถุนายน 2564 สอบถามรายละเอียดการอบรมและทดสอบได้ที่ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โทร. 065-893-9333 , 091-858-2231 , 090-810-7641 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

“การเรียนรู้ภาษาจีนอย่างถูกต้องจะช่วยให้เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีได้ อย่างน้อยที่สุดความสามารถพิเศษนี้เป็นสิ่งที่จะติดตัวเรา และสามารถใช้หากินได้ตลอดชีวิต” ผศ.ดร.อำนาจ กล่าว